วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อก
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ริกเตอร์ (ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา) มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทยในทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร
จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความความตื่นตะหนักแก่ประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมากที่ต่างต้องอพยพวิ่งหนีเอาชีวิตรอดกันอย่างโกลาหล ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้บนถนนหนทางตึกรางบ้านช่องเกือบทั่วทุกพื้นที่ หนำซ้ำยังได้ทิ้งคราบน้ำตาจากโศกนาฏกรรมอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มขณะกำลังก่อสร้างส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรมีคือกำลังใจทั้งให้กับตัวเองและครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบพร้อมร่วมกันถอดบทเรียนและวางแนวทางรับมือในอนาคต เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ด้วยเหตุนี้ สหประกันชีวิต จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ "ข้อปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อก" โดย กรม ทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงก่อนเกิดแผ่นดินไหว
- ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน
- ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า สำหรับในการตัดกระแสไฟฟ้า
- อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้นหรือที่สูง เพราะมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจทำให้ตกลงมาใส่เป็นอันตรายได้
- ผูกเครื่องใช้หนักๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
- สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ช่วงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
- ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจ
- หากอยู่ในบ้าน ให้หมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากระเบียงและหน้าต่าง
- หากอยู่ในอาคารสูง หลังจากแผ่นดินไหวหยุดแล้วให้รับออกจากอาคารโดยเร็ว
- หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่างๆ
- อย่าใช้เทียน ไม่ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
- หากกำลังขับรถอยู่ ให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุดลง
- ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
- หากอยู่ชายหาด ให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งได้
ช่วงหลังเกิดแผ่นดินไหว
- ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ควรรีบออกจากอาคารที่ได้รับความเสียหายทันที
- ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ และสิ่งหักพังทิ่มแทงได้
- ตรวจสายไฟ ท่อน้า ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม่ขีดไฟหรือท่อไฟจนกว่า
จะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว - ตรวจสอบว่าแก๊สรั่วหรือไม่ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้ปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
- ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุพาดพิงสายไฟ
- เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากจำเป็นจริงๆ
- สำรวจความเสียหายจากท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
- อย่าไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูงหรืออาคารพัง
- อย่าเผยแพร่ข่าวลือ
ด้วยความปรารถนาดี จาก สหประกันชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม