ก่อนรับบทเซ็นค้ำประกันเงินกู้ให้ใคร ต้องดูรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้ดีว่า ระบุจำนวนเงินกู้ไว้จำนวนเท่าใด และมีทรัพย์สินอื่นๆ เป็นประกันหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะผู้ค้ำประกันจะต้องเข้าไปค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งสัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเท่านั้น และที่สำคัญควรอ่านสัญญาค้ำประกันให้ละเอียดครบถ้วนก่อนเซ็นค้ำประกัน
และเมื่อตัดสินใจเซ็นค้ำประกัน สิ่งที่ผู้ค้ำประกันควรรู้ คือ ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันโดยมี 5 ข้อสำคัญ ดังนี้
1. ผู้ค้ำประกันจะรับผิดแทนลูกหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเงินกู้เท่านั้น
2. หากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไร ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันก็ลดลงเท่านั้นเช่นกัน และถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ที่ลดลงไม่ครบถ้วน ผู้ค้ำประกันชำระส่วนที่เหลือ หรือถ้าลูกหนี้ไม่ชำระเลยแล้วผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามที่ลดลงครบถ้วน ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากการค้ำประกัน
3. หากมีข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ค้ำประกันมากกว่าที่ระบุใน ข้อ 2. ข้อตกลงนั้นจะเป็นโมฆะ
4. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อยื่นขอชำระหนี้ตามกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้น
5. ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด หากเจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันไม่ได้ตกลงด้วยในการขยายระยะเวลาดังกล่าว
ค้ำได้หายห่วง! กับ โครงการประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเพื่อสมาชิกสหกรณ์ จาก สหประกันชีวิต เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับสมาชิกสหกรณ์ในขณะที่ยังมีหนี้สินกับสหกรณ์อยู่ บริษัทจะเป็นผู้รับหน้าที่เข้าไปชำหนี้แทนให้ทั้งหมด นอกจจากจะไม่เป็นภาระให้กับทายาทแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ค้ำประกันว่าจะไม่ได้รับความเดือดร้อนในอนาคตอีกด้วย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก